e-Learning | กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ของ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

  • ติดต่อเรา085-221-5482

  • Line IDdeqpelearning

  • อีเมลe_learning@deqp.mail.go.th

e-Learning courses

หลักสูตร

โดยเนื้อหาของบทเรียนประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียงวิดีโอและ มัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, webboard, chat)

หลักสูตรความรู้พื้นฐานการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หลักสูตรความรู้พื้นฐานการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคลากรจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาครัฐ เอกชน ประชาชนทั่วไป

รายละเอียด เข้าเรียน

หลักสูตรความรู้พื้นฐานการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศศ


5 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคลากรจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • หน่วยงานภาครัฐ
  • เอกชน
  • สถาบันการศึกษา
  • ประชาชนทั่วไป

หน่วยงาน

  • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองยั่งยืนมุ่งสู่ Resilient City

การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองยั่งยืนมุ่งสู่ Resilient City หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

Resilient City คือ เมืองที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะอาศัยอยู่ ปรับตัว และจะฟื้นตัวอย่างไร จึงจําเป็นต้องยกระดับความสามารถในการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย โดยหลักสูตรนี้เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจ และจุดประกายแนวคิด รวมถึงการเผยแพร่บทเรียนและการดำเนินงานที่ดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ


13 บท

ไม่มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด

การจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

วัดเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของศาสนิกชนชาวพุทธ การจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดจะช่วยให้เกิดสุขอนามัยที่ดีต่อพระภิกษุสงฆ์และศาสนิกชนทั่วไป โดยเน้นการจัดการ ควบคุม และปรับปรุง ควบคู่กับการสร้างการมีส่วนร่วม หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด มุ่งเน้นสร้างความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ น้ำเสีย พื้นที่สีเขียว และสุขอนามัย และสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียน เพื่อจะได้สามารถนำไปพัฒนาให้วัดมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. แนวความคิดและประโยชน์จากการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด
  2. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด
  3. พื้นที่สีเขียว
  4. การจัดการสิ่งแวดล้อม
  5. การรณรงค์ส่งเสริมความรู้ด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  6. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  7. เกณฑ์การประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด
  8. กรณีศึกษาวัดที่ผ่านเกณฑ์การจัดการสิ่งแวดล้อม

8 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การจัดการสิ่งแวดล้อมในมัสยิด

การจัดการสิ่งแวดล้อมในมัสยิด หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

การจัดการสิ่งแวดล้อมในมัสยิด มุ่งเน้นพัฒนาให้มัสยิดมีสิ่งแวดล้อมที่ดีตามหลักศาสนาอิสลาม ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้เรียนเจะได้เรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ น้ำเสีย พื้นที่สีเขียว และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียน เพื่อจะได้สามารถนำไปพัฒนามัสยิด และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. ศาสนาอิสลามและสิ่งแวดล้อม
  2. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ
  3. พื้นที่สีเขียว
  4. การจัดการขยะ
  5. การประหยัดน้ำและไฟฟ้า
  6. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  7. เกณฑ์การประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมในมัสยิด
  8. กรณีศึกษามัสยิดที่ผ่านเกณฑ์การจัดการสิ่งแวดล้อม

8 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองเพื่อมุ่งสู่เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองเพื่อมุ่งสู่เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

พื้นที่สีเขียวเปรียบเสมือนปอดของเมือง มีบทบาทที่สำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตบนโลก การพัฒนาพื้นที่สีเขียวจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน หลักสูตรการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมือง มุ่งเน้นให้ศึกษาและเรียนรู้ถึงความสำคัญของพื้นที่สีเขียว และแนวทางในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวตั้งแต่การวางแผน การปลูก และการดูแลรักษาพื้นที่สีเขียว และรูปแบบต่าง ๆ ในการพัฒนาพื้นที่สีเขียว เพื่อสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ต่อไป

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองเพื่อมุ่งสู่เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
  2. ความหมายและความสำคัญของพื้นที่สีเขียวต่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน
  3. เมืองและประเภทพื้นที่สีเขียวในเมืองและชุมชน
  4. ทางเชื่อมเชิงนิเวศ (Green Corridor)
  5. รูปแบบและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองและชุมชน
  6. การคัดเลือกพรรณไม้ปลูกในเขตเมืองของประเทศไทย
  7. การปลูก ดูแล และบำรุงรักษาต้นไม้ในเมือง
  8. การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สีเขียว
  9. เกณฑ์ในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองและชุมชน

9 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมวด : มนุษย์-สังคมกับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. บทที่ 1 แนวคิดการพัฒนากระบวนทัศน์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  2. บทที่ 2 การมีส่วนร่วม: แนวคิดและหลักการ
  3. บทที่ 3 ความขัดแย้งในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. บทที่ 4 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและเทคนิควิธีในการสร้างการมีส่วนร่วม
  5. บทที่ 5 ตัวอย่างของ การสร้างการมีส่วนร่วมที่ดี (Best Practice)
  6. บทที่ 6 ปัญหาและอุปสรรคในการสร้างการมีส่วนร่วม

6 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ( Green Office)

สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ( Green Office) หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. บทที่ 1 ความหมายขององค์กรสีเขียวที่ยั่งยืน (Sustainable Green Organization)
  2. บทที่ 2 แนวคิดสำคัญองค์กรสีเขียว
  3. บทที่ 3 บทบาทของกรมส่งเสริมในการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรสีเขียว
  4. บทที่ 4 การสมัครเข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว
  5. บทที่ 5 แนวทางการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office)
  6. บทที่ 6 ระดับผลการประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office)
  7. บทที่ 7 ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ
  8. บทที่ 8 นิยามและตัวชี้วัดสำนักงานสีเขียว (Green Office)
    1. หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนดำเนินงาน และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
    2. หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก
    3. หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน
    4. หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย
    5. หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
    6. หมวดที่ 6 การจัดซื้อและจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    7. กรณีศึกษา

8 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
วางรากฐานพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

วางรากฐานพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

รูปแบบพฤติกรรมมนุษย์สามารถจำแนกออกได้เป็นหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมภายนอก/ภายในพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด และพฤติกรรมที่เป็นผลจากการเรียนรู้ การผลักดันให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงต้องการความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของระดับปัจเจกบุคคลไปจนกระทั่งระดับองค์กรเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. บทที่ 1 รูปแบบและการศึกษาพฤติกรรม
  2. บทที่ 2 พฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  3. บทที่ 3 การสะกิด (Nudge) เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ตอนที่ 1)
  4. บทที่ 4 การสะกิด (Nudge) เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ตอนที่ 2)
  5. บทที่ 5 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  6. บทที่ 6 Best practices
  7. บทที่ 7 Panel discussion

7 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
เติมเต็มประเด็นร่วมน้ำ พลังงาน อาหาร

เติมเต็มประเด็นร่วมน้ำ พลังงาน อาหาร หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

น้ำ พลังงาน อาหาร เป็นรากฐานของทรัพยากรที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การพิจารณาหรือให้ความสำคัญกับทรัพยากรดังกล่าวเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งอาจส่งผลให้ระบบทรัพยากรเกิดการเสียสมดุล การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อรักษาความมั่นคงด้านน้ำ พลังงาน และอาหาร จึงต้องการการมีส่วนร่วมจากหลากหลายภาคส่วนรวมไปถึงการบูรณาการองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. บทที่ 1 ที่มาและความสำคัญของความเชื่อมโยงด้านน้ำ พลังงาน อาหาร (WEF NEXUS)
  2. บทที่ 2 การจัดการทรัพยากรน้ำด้วยหลัก WEF NEXUS
  3. บทที่ 3 การจัดการทรัพยากรพลังงานด้วยหลัก WEF NEXUS
  4. บทที่ 4 การจัดการทรัพยากรอาหารด้วยหลัก WEF NEXUS
  5. บทที่ 5 ภาพรวมการจัดการทรัพยากรด้วยหลัก WEF NEXUS
  6. บทที่ 6 Best practices
  7. บทที่ 7 Panel discussion

7 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
ส่งต่อความยั่งยืนผ่านกลยุทธ์การสื่อสาร

ส่งต่อความยั่งยืนผ่านกลยุทธ์การสื่อสาร หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

การสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม แนวทางและรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ของปัจเจกบุคคลแต่ยังส่งผลดีต่อการสร้างชื่อเสียงขององค์กรอีกด้วย

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. บทที่ 1 หลักการสื่อสารด้วยทฤษฎี SMCR และแนวทาง 4-ON
  2. บทที่ 2 การสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
  3. บทที่ 3 หลักการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
  4. บทที่ 4 การสร้างภาพลักษณ์และการบริหารจัดการโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกลุ่มเป้าหมาย
  5. บทที่ 5 ชื่อเสียงองค์กรและการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน
  6. บทที่ 6 Best practices
  7. บทที่ 7 Panel discussion

7 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
ปรับแนวคิดพิชิตปัญหาน้ำประปาเค็ม

ปรับแนวคิดพิชิตปัญหาน้ำประปาเค็ม หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

น้ำประปาเค็ม เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนรวมไปถึงต้นทุนของภาคการผลิตที่มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณมาก การรับมือกับปัญหาน้ำประปาเค็มในระดับปัจเจกบุคคลหรือในระยะเร่งด่วนย่อมอาศัยแนวทางและกระบวนการที่แตกต่างจากการจัดการในระยะกลางและระยะยาวซึ่งมีความซับซ้อนและใช้งบประมาณที่สูงกว่า การเข้าใจถึงที่มาของปัญหารวมไปถึงแนวทางการรับมือที่เหมาะสมและยั่งยืนจึงเป็นเรื่องสำคัญ

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. บทที่ 1    ที่มาและความสำคัญ
  2. บทที่ 2    การจัดการระยะสั้น
  3. บทที่ 3    การจัดการระยะกลาง
  4. บทที่ 4    การจัดการระยะยาว
  5. บทที่ 5    การจัดการภาพรวม (IWRM)
  6. บทที่ 6    Best practices
  7. บทที่ 7    Panel discussion

7 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
Mindset สู่ความสำเร็จเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

Mindset สู่ความสำเร็จเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน หมวด : หลักสูตรทั่วไป
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

Mindset เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของคนทั้งการทำงาน และ การดำรงชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อมุมมองที่มีต่อโลกรอบตัว ภายในตัวเอง และการพัฒนาตัวเอง ดังนั้น การยกระดับศักยภาพ สร้างกรอบความคิดใหม่ รวมทั้งสร้างกระบวนการคิด การวางแผน ที่มุ่งเป้า มุ่งผลสัมฤทธิ์ของคนทำงานเพื่อที่จะยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในภารกิจตามที่มุ่งหวัง

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. หัวข้อ1 การจัดการตัวเองด้วยกรอบความคิดแบบเติบโต Self-Management Growth Mindset
    1. บทที่ 1   2 รูปแบบของความคิด ที่มีผลต่อความแตกต่างของแต่ละชีวิต Growth & Fixed Mindset
    2. บทที่ 2   3A เปลี่ยนชีวิต
    3. บทที่ 3   การจัดการตนเอง Self Management
    4. บทที่ 4   สร้างกรอบความคิดใหม่ (New Mindset)
    5. บทที่ 5   เป้าหมายของชีวิต (Purpose-PEAK)

  2. หัวข้อ2 การสร้างการมีส่วนร่วมและการทำงานร่วมกัน Team Work & Collaboration
    1. บทที่ 6   ทีมคือการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า
    2. บทที่ 7   ความเข้าใจอย่างถูกต้องของการทำงานเป็นทีม
    3. บทที่ 8   องค์ประกอบของทีม
    4. บทที่ 9   ทีมมี่มีประสิทธิภาพสูง
    5. บทที่ 10   อุปสรรคของการทำงานเป็นทีม
    6. บทที่ 11   การสร้างแรงจูงใจให้ทีมงาน
    7. บทที่ 12   สร้างบรรยากาศทีม ด้วยการสื่อสารในความเป็นเขา

  3. หัวข้อ3 การสื่อสารในแบบของความเป็นผู้นำ Leadership Communication
    1. บทที่ 13   เพราะอะไร? เราต้องสื่อสาร
    2. บทที่ 14   สื่อสารเพื่อสร้างความไว้ใจ Trust
    3. บทที่ 15   คำพูดเนื้อหาที่เป็นจริง
    4. บทที่ 16   ภาษาสร้างแรงบันดาลใจ
    5. บทที่ 17   ฟังเพื่อเข้าใจ
    6. บทที่ 18   ให้พลังด้วยคำถาม

  4. หัวข้อ4 การวางแผน การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ Planning and problem Solving and Decision Making
    1. บทที่ 19   กฎ 20:80 ทำน้อยให้ได้มาก
    2. บทที่ 20   วางแผนงานง่ายๆในกระดาษแผ่นเดียว
    3. บทที่ 21   การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ


21 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การออกแบบสื่อด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรให้ (ไม่) น่าสนใจ

การออกแบบสื่อด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรให้ (ไม่) น่าสนใจ หมวด : หลักสูตรทั่วไป
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

วิดีโอ (e-Learning) หลักสูตร การออกแบบสื่อด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรให้ (ไม่) น่าสนใจ ที่จัดทำขึ้นนี้ เป็นการนำวีดีโอบันทึกภาพจากการอบรมออนไลน์ (live) เมื่อวันที่ 21-22 เมษายน 2564 โดยได้ตัดต่อนำเนื้อหาที่สำคัญมาจัดทำสื่อการเรียนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้สนใจเข้าเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ผลิตสื่อ infographic ในงานด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างสร้างสรรค์และดูน่าสนใจ

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบสื่อ
  2. บทที่ 2 เครื่องมือคำสั่งที่จำเป็น ของ Power point ในการออกแบบ
  3. บทที่ 3 จะใช้สีอย่างไรให้ดู (ไม่) โปร
  4. บทที่ 4 จะเลือกภาพอย่างไรให้ (ไม่) เข้าท่า
  5. บทที่ 5 การจัดวางองค์ประกอบอย่างไรให้ดูโปร
  6. บทที่ 6 เทคนิคที่ทำให้ การนำเสนอดู WOW
  7. บทที่ 7 ทำความรู้จัก Infographic
  8. บทที่ 8 เครื่องมือคำสั่งที่จำเป็นของ PowerPoint สำหรับการทำ Infographic
  9. บทที่ 9 กฎหมายลิขสิทธิ์กับการสร้างสื่อ

9 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
การจัดการภัยพิบัติ

การจัดการภัยพิบัติ หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

การเกิดภัยพิบัติทั้งจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เกิดการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภัยธรรมชาติที่เกิดผิดฤดูกาลที่มีเพิ่มมากขึ้น เนื้อหาหลักสูตรกล่าวถึงความหมายของภัยพิบัติ การจัดการภัยพิบัติ การวางแผนสำหรับภาวะฉุกเฉินที่ไม่อาจคาดเดาได้ สถานการณ์และแนวโน้มภัยพิบัติ พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างกระบวนการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นฐาน โดยหลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเตรียมพร้อมในการจัดการภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
  1. ภัยพิบัติ
  2. ประเภทภัยพิบัติ
  3. การจัดการภัยพิบัติ

3 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
ประชาคมอาเซียนกับการจัดการสิ่งแวดล้อม

ประชาคมอาเซียนกับการจัดการสิ่งแวดล้อม หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

การพัฒนาและยกระดับความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนไปสู่การจัดตั้งเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY: AC) ในปี พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีองค์ประกอบ 3 เสาหลัก ได้แก่ เสาหลักที่ 1 ความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง เสาหลักที่ 2 ความร่วมมือในด้านเศษฐกิจ และ เสาหลักที่ 3 ความร่วมมือในด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการส่งเสริมและร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ อยู่ภายใต้เสาหลักที่ 3 สำหรับหลักสูตรนี้ จะมุ่งเน้นทำความเข้าใจถึงยุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้แนวทางของประเทศต่างๆ ของอาเซียนในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

  1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
  2. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม
  3. แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศในกลุ่มอาเซียน
  4. การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
  5. กรณีศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

5 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน (CBM)

การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน (CBM) หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

เนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 : การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน

เนื้อหาในส่วนนี้กล่าวถึง แนวคิดที่สอดคล้องตามนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยของท้องถิ่น โดยการกระตุ้นให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง ตลอดจนการลดปริมาณขยะ การชำระค่าบริการ มาตรการต่างๆ รวมถึงผลที่แต่ละฝ่ายจะได้รับหลังจากการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนแล้ว

ส่วนที่ 2 : การฝึกอบรบเชิงปฎิบัติการสำหรับวิทยากร

ส่วนนี้จะเป็นคู่มือสำหรับการเป็นวิทยากรในเรื่องของการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน ซึ่งหลักสูตรที่จัดทำขึ้นแบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร ด้วยกัน ดังนี้

  1. หลักสูตรที่ 1 สำหรับผู้บริหาร
  2. หลักสูตรที่ 2 สำหรับผู้ปฎิบัติการ
  3. หลักสูตรที่ 3 สำหรับชุมชน

14 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
การจัดการสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE)

การจัดการสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE) หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

ภายใต้กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมในปัจจุบัน การจัดการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เป็นเครื่องมือสำคัญในการปลูกจิตสำนึกของผู้ใช้อาคาร ในการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การออกแบบอาคาร การก่อสร้าง และการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม การสร้างนวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกอาคาร ตลอดจนการสร้างขีดความสามารถ ของบุคลากรในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของอาคารและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม การดำเนินการสำนักงานสีเขียวจะส่งผลตั้งแต่การสร้างจิตสำนึกในระดับผู้บริหารจนถึงผู้ปฎิบัติงานในทุกภาคส่วน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า มีประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

  1. สำนักงานสีเขียว
  2. การดำเนินการสำนักงานสีเขียว
  3. การจัดการสำนักงานสีเขียว
  4. การประเมินความสำเร็จของสำนักงานสีเขียว
  5. อนาคตสำนักงานสีเขียว

5 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
ความรู้พื้นฐานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ความรู้พื้นฐานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นหลักสากลและของประเทศไทย ซึ่งจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการ วิธีการ ขั้นตอน ประเภทและขนาดของโครงการ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการที่มีการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือประชาชนทั่วไปจะได้รับความรู้และความเข้าใจ ในกระบวนการเข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ เสนอข้อคิดเห็นในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

  1. หลักการการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  4. การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
  5. การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)

5 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
โครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม : ทฤษฎี ปฏิบัติ นวัตกรรม

โครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม : ทฤษฎี ปฏิบัติ นวัตกรรม หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงยึดการดำเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวและสามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมีความละเอียดรอบคอบ และทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนา เพื่อมุ่งประโยชน์แก่ประชาชนอย่างสูงสุด มีคุณค่าและควรยึดเป็นแบบอย่างในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท นำมาปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดผลต่อตนเอง สัมคม และประเทศชาติตลอดไป

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

  1. แนวคิด ขั้นตอนทรงงาน โครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม
  2. โครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม : ทรัพยากรดิน
  3. โครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม : ทรัพยากรน้ำ
  4. โครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม : ทรัพยากรป่าไม้
  5. โครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม : พลังงานทดแทน
  6. ตัวอย่างโครงการ

6 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
การบริโภคและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การบริโภคและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

การบริโภคและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักสูตรนี้ จึงนำเสนอแนวคิดแบบองค์รวมเพื่อนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกรอบแนวคิดด้านการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย การจัดการทรัพยากร การออกแบบ เทคโนโลยีสะอาด การคมนาคม ฉลากสิ่งแวดล้อมและการรับรอง การจัดซื้อจัดจ้าง การตลาด วิถีชีวิต และการจัดการของเสีย ซึ่งผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงาน ครอบครัว และสังคมต่อไป

เนื้อหาประกอบด้วย

  1. บทนำ
  2. บทที่ 1 การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน
  3. บทที่ 2 การออกแบบเพื่อความยั่งยืน
  4. บทที่ 3 เทคโนโลยีสะอาดและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. บทที่ 4 การคมนาคมอย่างยั่งยืน
  6. บทที่ 5 ฉลากสิ่งแวดล้อมและการรับรอง
  7. บทที่ 6 การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน
  8. บทที่ 7 การตลาดอย่างยั่งยืน
  9. บทที่ 8 วิถีชีวิตที่ยั่งยืน
  10. บทที่ 9 การจัดการของเสีย
  11. บทสรุปการบริโภคและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

11 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
ZERO WASTE : ปฏิบัติการขยะเหลือศูนย์

ZERO WASTE : ปฏิบัติการขยะเหลือศูนย์ หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

"ขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste)" เป็นแนวทางในการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดให้ลดเหลือน้อยที่สุดจนเป็นศูนย์ หัวใจสำคัญก็คือ การจัดการขยะที่ต้นทาง เน้นการลดขยะ การใช้ซ้ำ และการคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ก่อนนำไปกำจัด ซึ่งแตกต่างจากการจัดการขยะในปัจจุบันที่เน้นการกำจัดหรือจัดการขยะที่ปลายทาง มากกว่าการแก้ไขที่ต้นทาง โดยสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ที่บ้านของเราเอง และทุกคนในครอบครัวลงมือทำได้ทันที

เนื้อหาประกอบด้วย

  1. บทนำ
  2. บทที่ 1 ขยะ
  3. บทที่ 2 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  4. บทที่ 3 แนวคิดขยะเหลือศูนย์
  5. บทที่ 4 การคัดแยกขยะ
  6. บทที่ 5 ตัวอย่างโครงการขยะเหลือศูนย์

6 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
PM 2.5 ภัยใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิด

PM 2.5 ภัยใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิด หมวด : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

ฝุ่น PM 2.5 เป็นมลพิษต่ออากาศและร่างกาย ควรป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ คือ หน้ากาก N95 ส่วนหน้ากากประเภทอื่นนั้น ช่วยป้องกันได้เพียงส่วนหนึ่ง และควรใส่ให้ถูกวิธี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน แต่วิธีที่ดีที่สุด คือ การแก้ไขที่ต้นเหตุ ดังนั้น มาร่วมด้วยช่วยกันคืนอากาศบริสุทธิ์ให้พวกเราทุกคน ด้วยการควบคุมฝุ่น PM 2.5 ไม่ให้เกินมาตรฐาน

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

  1. บทที่ 1 ภัยใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิด
  2. บทที่ 2 รู้จัก PM 2.5
  3. บทที่ 3 PM 2.5 ภัยคุกคามสุขภาพ
  4. บทที่ 4 สู้วิกฤติฝุ่นพิษ PM 2.5

6 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
การจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย

การจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย หมวด : เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

ผู้เรียนจะได้ศึกษาในเรื่องสถานการณ์คุณภาพน้ำในประเทศไทย วิธีการบำบัดน้ำเสียอย่างถูกวิธี แนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย และการคิดต้นทุนการจ่ายค่าบำบัดน้ำเสีย และการควบคุมมลพิษทางน้ำ รวมถึงการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย โดยแบ่งเนื้อหา ดังต่อไปนี้

  1. สถานการณ์คุณภาพน้ำในประเทศไทย
  2. วิธีการออกแบบระบบกำจัดและบำบัดน้ำเสีย
  3. การบริหารจัดการระบบน้ำเสีย

11 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม หมวด : เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ ดูแล บำบัด ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และลดปัญหามลพิษที่อาจส่งผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ หลักการของเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ต้องเป็นเทคโนโลยีที่นำไปใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปได้ เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่

  1. เทคโนโลยีที่ใช้ควบคุมและบำบัดมลพิษ
  2. เทคโนโลยีชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อม
  3. เทคโนโลยีภูมิปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม
  4. เทคโนโลยีชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อม
  5. เทคโนโลยีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
  6. เทคโนโลยีด้านพลังงานที่เกี่ยข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน

7 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน หมวด : มนุษย์-สังคมกับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในระยะที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างรุนแรงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลง ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้ได้ส่งผลในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบริหารจนถึงระดับผู้ปฎิบัติ และระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชุมชน ในการจัดการสิ่งแวดล้อมต้องเริ่มต้นจากชุมชน ซึ่งความสำคัญของชุมชนเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีผลต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง โดยอาศัยหลักการในการมีส่วนร่วมของประชาชน

ดังนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน จึงเป็นการเรียนรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา การวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยรูปแบบที่เหมาะสม คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

  1. บทนำ
  2. หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
  3. องค์ประกอบของชุมชน
  4. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน
  5. การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
  6. กรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

6 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
การบริโภคอย่างยั่งยืน

การบริโภคอย่างยั่งยืน หมวด : มนุษย์-สังคมกับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

ปัจจุบันการบริโภคมิได้ถูกตีกรอบไว้แค่เรื่องของอาหารการกินอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากความหมายแท้จริงของ "การบริโภค" นั้นกว้างขวางและครอบคลุมไปถึงการใช้ชีวิตด้วยสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด เราจะบริโภคอย่างไรให้คุ้มค่าและยั่งยืน เนื้อหาประกอบด้วย

  1. ส่วนที่ 1 คุณกับโลกของคุณ
  2. ส่วนที่ 2 Towards Sustainable Consumption

2 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
การลดรอยเท้าทางนิเวศในโรงเรียน (SCHOOL ECOLOGICAL FOOTPRINT)

การลดรอยเท้าทางนิเวศในโรงเรียน (SCHOOL ECOLOGICAL FOOTPRINT) หมวด : มนุษย์-สังคมกับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

บทเรียนออนไลน์การลดรอยเท้าทางนิเวศในโรงเรียน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เนื้อหาซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 รอยเท้าทางนิเวศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงเรื่องรอยเท้าทางนิเวศ และส่วนที่ 2 การลดรอยเท้าทางนิเวศในโรงเรียน เป็นการถอดบทเรียนจากโครงการลดรอยเท้าทางนิเวศในโรงเรียน ผู้เรียนสามารถศึกษารายละเอียดวิธีการดำเนินโครงการ ความสำเร็จ อุปสรรคต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนเองได้

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

ส่วนที่ 1 รอยเท้าทางนิเวศ (Ecological Footprint)

  1. บทที่ 1 รอยเท้าทางนิเวศ (Ecological Footprint)
  2. บทที่ 2 วิธีการศึกษารอยเท้าทางนิเวศของโลก
  3. บทที่ 3 ผลการวัดรอยเท้าทางนิเวศ
  4. บทที่ 4 การลดขนาดรอยเท้าทางนิเวศเพื่อการใช้ชีวิตอย่าง

ส่วนที่ 2 การลดรอยเท้าทางนิเวศในโรงเรียน (School Ecological Footprint)

  1. การลดค่ารอยเท้าทางนิเวศในโรงเรียน (School Ecological Footprint)
  2. โรงเรียนดอนศิลาผางามวิทยาคม
  3. โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2
  4. โรงเรียนบ้านเมืองชุม
  5. โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ข้าวต้มหลวง
  6. โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร)
  7. โรงเรียนบ้านแม่ข้าวต้มท่าสุด
  8. โรงเรียนเวียงเชียงรุ้งวิทยา
  9. โรงเรียนแม่จันวิทยาคม
  10. โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
  11. โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ใส
  12. ความรู้เพิ่มเติมจากโครงการลดรอยเท้าทางนิเวศในโรงเรียน

16 บท

ไม่มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
เลือกซื้อ เลือกใช้ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

เลือกซื้อ เลือกใช้ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม หมวด : มนุษย์-สังคมกับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

การตระหนักว่าผู้บริโภคมีส่วนในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลจากการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ คือจุดเริ่มต้นสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และพิจารณาทางเลือกที่รับผิดชอบมากกว่า ทิ้งรอยเท้าทางนิเวศ (Carbon Footprint) ไว้น้อยกว่า รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลให้กับคนรอบข้างได้อีกด้วย

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

  1. การบริโภคแบบยั่งยืน
  2. ผลิตภัณฑ์สีเขียว
  3. ฉลากสิ่งแวดล้อม
  4. ฉลาดกินฉลาดใช้

4 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CLIMATE CHANGE)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CLIMATE CHANGE) หมวด : มนุษย์-สังคมกับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งสาเหตุใหญ่มาจากการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น ทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และจากการใช้ทรัพยากรของมนุษย์โดยไม่มีขีดจำกัด

หลักสูตรนี้นำเสนอสาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการปรับตัว และการแก้ไขพฤติกรรมต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ ตลอดจนการดำเนินงานของประเทศไทยในการลดภาวะโลกร้อน

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

  1. สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
  2. ภาวะเรือนกระจก (GHG)
  3. ยุทธศาสตร์ลดโลกร้อน

3 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หมวด : หลักสูตรทั่วไป
กลุ่มผู้เรียน : บุคคลทั่วไป , นักศึกษา

รายละเอียด เข้าเรียน

เรียนรู้การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับงานและชีวิตประจำวัน เนื้อหาจะอยู่ที่ระดับ Pre-intermediate ถึง Intermediate โดยเน้นพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

  1. Introduction and Overview
  2. Speaking
  3. Writing Effectively
  4. Listening Comprehension
  5. Reading Comprehension

7 บท

มีใบประกาศนียบัตร

กลุ่มผู้เรียน

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษา

หน่วยงาน

  • กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม